ประวัติ

แมวเปอร์เซีย


ประวัติความเป็นมาของแมวเปอร์เซียหิมาลายัน




ประวัติย่อ
ชาวเปอร์เซียได้รับการยอมรับและโด่งดังในฐานะผู้ขยาย พันธุ์แมวและได้เป็นผู้ตั้งรากฐานของการผสมพันธุ์แมวในยุคต้นๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการพัฒนาของแมวหิมาลายันขึ้นมา วิวัฒนาการขั้นแรกๆของแมวเปอร์เซียเกิดขึ้นในที่ราบสูงเปอร์เซีย(ประเทศ อิหร่านและอิรักในปัจจุบัน) ซึ่งแมวที่มีขนยาวและนุ่มลื่นนี้ได้ถูกนำไปสู่ยุโรปโดยพวกฟินิเซียนและโรมัน ทำให้ชาวยุโรปต่างประทับใจกับมันมาก โดยเป็นเวลากว่าหลายปีแล้วที่แมวเปอร์เซียถูกขยายพันธุ์ไปเพื่อที่จะคงแมวขน ยาวนี้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์

ก้าวแรกของการพัฒนาแมวเปอร์เซีย หิมาลายัน นี้คือการผสมระหว่างแมวพันธุ์ไทยวิเชียรมาศกับแมวพันธุ์เปอร์เซีย ซึ่งต่อมาก็มีการขยายพันธุ์ลูกหลานเรื่อยๆเพื่อที่จะสร้างกลุ่มของแมวที่มี ขนยาวและมีลวดลายแบบ colorpoint-persian ขึ้นมา หลังจากนั้นก็ได้ถูกขยายพันธุ์กลับไปยังเปอร์เซียและทายาทของมันก็ถูกผสม ข้ามพันธุ์ หลายปีต่อมานักผสมพันธุ์ก็มีแมวที่มีลักษณะเฉพาะของแมวเปอร์เซียและมีสีแบบ colorpoint หลากสี เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วก้าวต่อไปก็เริ่มขึ้นโดยมีการยอมรับสายพันธุ์แมวนี้จาก องค์กรจดทะเบียน

ในประเทศอังกฤษ นาย Brian Sterling-Webb ได้พัฒนาให้แมวขนยาว colorpoint ของเขามีความสมบูรณ์เรื่อยๆตลอดช่วงเวลา 10 ปี โดยในปี 1955 เขาติดต่อกับ Governing Council of the Cat Fancy (GCCF) และขอให้มีการยอมรับแมวขนยาวสายพันธุ์ใหม่นี้  ด้วยการที่เขาและนักขยายพันธุ์คนอื่นๆ ได้เตรียมพร้อมสำหรับการอธิบายและปกป้องงานที่เขาได้ทำการพัฒนาสีใหม่นี้ ขึ้นมา ทำให้แมวขนยาว colorpoint นี้ได้รับการอนุมัติข้อเสนอและถูกยอมรับเป็นสายพันธุ์หนึ่งในประเทศอังกฤษ

ในอเมริกาเหนือ นาง Goforth ได้ทำการเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์นี้ในระหว่างการประชุมประจำปีของ CFA ใน Washington , DC เมื่อ 18 ธันวาคม 1957 โดยนาง Goforth ได้คัดค้านว่าถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของแมวหิมาลายันนี้จะบ่งชี้ถึงลักษณะของ แมวเปอร์เซีย แต่มันก็ไม่ใช่แมวเปอร์เซียโดยแท้ มันเป็นแมวขนยาวที่ถูกผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้แมวเหล่านี้ได้รับการยอมรับและถูกจดทะเบียนขึ้นมาโดย CFA ซึ่งในขณะนั้นมีกฎในการยอมรับสายพันธุ์ใหม่ โดยที่ผู้ขยายพันธุ์ต้องแสดงให้เห็นถึงการขยายพันธุ์ของแมวหิมาลายัน นี้ 3 ช่วงยุค(Generation) เพื่อที่จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการแช่งขันระดับ championship

ในทุกวันนี้ แมวหิมาลายันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ของแมวหิมาลายันนั้นไม่ตรงตามมาตรฐานของสายพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของแมวเปอร์เซีย นักขยายพันธุ์หลายๆ คนได้หยุดการผสมพันธุ์กับแมวเปอร์เซียนสีล้วน แต่กลับผสมพันธุ์แมว colorpoint กับแมว colorpoint กันเอง และส่งผลให้การพัฒนาแมวหิมาลายันนั้นมีลักษณะไม่ค่อยตรงกับมาตรฐานของสาย พันธุ์เปอร์เซียและในหลายกรณีที่แมวหิมาลายัน กลายมาเป็นแมวขนยาว colorpoint ที่มีจมูกยาวแทน

ในช่วงปี 1970 ผู้เลี้ยงแมวหิมาลายันได้เริ่มที่จะประเมินถึงเป้าหมายที่พวกเค้ากำลัง พยายามจะทำให้สำเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าพวกเขากำลังเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาสายพันธุ์แมวให้ เป็นพันธุ์เปอร์เซียที่ดีกว่าเดิม พวกเขาเริ่มที่จะผสมแมวเปอร์เซียข้ามสายพันธุ์โดยใช้หลักการตามปกติ และนำลูกหลานมาใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มมีแมวขนยาว colorpoint ที่มีลักษณะเปอร์เซียที่ดีกว่าปรากฏ แมวเหล่านี้ดูเหมือนแมวเปอร์เซียมากยิ่งขึ้น และในที่สุดมันก็สามารถที่จะแข่งขันกับแมวเปอร์เซียเพื่อขิงรางวัลชนะเลิศ ตามที่ปรารถนา

ดังนั้นจึงมีคำถามต่อมาว่า ถ้าแมวสายพันธุ์นี้ดูเหมือนแมวเปอร์เซีย และเป็นที่สามารถแข่งขันกับแมวเปอร์เซีย แล้วทำไมพวกมันจึงต้องแข่งขันในฐานะสายพันธุ์อื่น หลายๆคนเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้ของการที่เราจะจัดแมวหิมาลายันเป็น Division หนึ่งของแมวเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามยังมีคนบางกลุ่มที่ยังชอบในลักษณะของแมวหิมาลายันเก่าๆและแมว ของเขาไม่สามารถที่จะแข่งขันกับแมวอื่นๆในเวทีการแสดงได้ โดยมีบางส่วนในนี้ที่เริ่มจะเบนหนีจากการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานของแมวเปอร์ เซียซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานที่แมวหิมาลายันในยุคปี 60 เป็นแบบนั้น หากคุณชำเลืองแมวหิมาลายันในการแสดงโชว์แมวในปัจจุบันก็จะเห็นว่าเป้าหมาย ของพวกเขานั้นยังไม่สำเร็จเลย และในปี 1987 Persian Breed Council ได้มีการให้ลงคะแนนว่า “ควรหรือไม่ที่จะให้แมวหิมาลายันในปัจจุบันจัดเป็น Division หนึ่งของแมวเปอร์เซีย”

แมววิเชียรมาศ





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


           ปากบนหางสี่เท้า         โสตสอง
           แปดแห่งดำดุจปอง     กล่าวไว้
           ศรีเนตรดั่งเรือนรอง     นาคสวาดิ ไว้เอย
           นามวิเชียรมาศไซร้     สอดพื้นขนขาว

           "แมววิเชียรมาศ" เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ชาวต่างชาติรู้จักและตั้งชื่อว่า "Siamese Cat" หรือ “แมวสยาม” เป็นแมวไทยต้นตระกูล ที่นำไปปรับปรุงพันธุ์ได้แมวไทยอีกหลายสายพันธุ์ แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณ ในสมุดข่อยยกย่องให้เป็นแมวให้ลาภ ใครเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง  ชื่อแมววิเชียรมาศ มีความหมายว่า "เพชรแห่งดวงจันทร์" หรือ "Moon Diamond" บางตำราก็เรียก "แมวแก้ว"

           ปัจจุบันคนไทย มักเข้าใจผิดเรียกว่า แมววิเชียรมาศ คือแมวชนิดเดียวกันกับ  "แมวเก้าแต้ม" เนื่องจากมีลักษณะและลวดลายคล้ายกันมาก แต่ที่จริงแล้ว "แมวเก้าแต้ม" เป็นชื่อของแมวไทยอีกชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ลักษณะประจำพันธุ์

           แมววิเชียรมาศ เป็นแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มอยู่ 9 จุดบนตัว ได้แก่ ที่ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหูทั้งสอง ปลายหาง บนจมูก และที่อวัยวะเพศ เมื่อตอนยังเล็กจุดจะไม่ใหญ่มาก ลำตัวเป็นสีครีม แต่จุดจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุจนมีสีน้ำตาลเกือบทั้งหมด พันธุ์แท้จะต้องมีนัยน์ตาสีฟ้าเป็นประกายสดใส

           ขณะยังเป็นลูกแมวอายุน้อย สีขน0tออกสีครีมอ่อนๆ พอโตขึ้น สีจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาง) เป็นแมวพันธุ์แท้ตลอดกาล ไม่ว่าจะไปผสมกับแมวพันธุ์อะไรก็ตาม จะได้สีแต้มตามแบบ แต่รูปร่างไม่สง่างามเท่า และนิสัยต่างๆ จะไม่ตกทอดไปสู่ แมวลูกผสมด้วย เมื่ออายุมากขึ้นสีสันต่างๆ จะเข้มขึ้นตามลำดับ ในต่างประเทศ ได้นำ แมววิเชียรมาศนี้ ไปผสมกับแมวไทยบางพันธุ์ ได้แมวที่มีแต้มสีอื่นๆอีกหลายสี เช่น แต้มสีเทา สีแดง ลายสีกลีบบัว 

           ตา : นัยน์ตาเป็นสีฟ้าเปล่งประกายสดใส ในตอนที่ยังเล็กๆ จะมีขนสีครีมอ่อนๆ แต่ พอโตขึ้นขนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีลูกกวาง ขนาดก็พอๆกับแมวไทยโดยทั่วๆไป ดวง ตาสีฟ้าชัดเจนนั้นจะมีลักษณะเหมือนตุ๊กตาจีน คือเอียงเข้าหากันลงไปทางปลายจมูก

           ขา : ช่วงขายางร่างระหง เท้าทั้ง 4 จะดูบอบบาง ด้านหลังจะยาวและยกสูงกว่าด้าน หน้าเล็กน้อย รูปเท้าจะเรียวแต่ฝ่าเท้าอวบ

           หาง : หางยาวเรียวลักษณะคล้ายหางเสือ แต้มตรงหางจะมีสีเข้มจากปลายหาง และ เริ่มจางลงเมื่อขึ้นมาถึงโคนสะโพd

           หัว : รูปศีรษะยาวได้สัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนที่อยู่ตรงแนวระดับตาจะเป็นส่วนที่กว้าง ที่สุดจึงมองดูแล้วโหนก และจะค่อยๆแคบลงมาจนถึงปลายปากหรือคาง

           หู : ใบหูใหญ่ตั้งชัน ปลายใบหูจะค่อนข้างแหลม โคนหูกว้าง

           ขน : ลำตัวมีสีนวลหรือสีครีม แต่จะเข้มขึ้นบริเวณแผ่นหลัง ลักษณะของสีนั้นจะเข้ม ขึ้นตามอายุ เมื่ออายุยังน้อยๆสีก็จะเป็นสีครีมอ่อนๆ พออายุเริ่มมากขึ้นก็เข้มขึ้นเรื่อยๆจน ดูเป็นสีน้ำตาลทางใบหน้าจะเด่นมาก เพราะแต้มที่จุดอยู่ตรงปลายจมูกนั้นจะกว้างออกครอบ ทั่วบริเวณเหมือนกับสวมหน้ากากไว้ เส้นขนที่ปกคลุมมีลักษณะสั้น แต่เป็นเส้นละเอียดอ่อนนุ่ม และดกหนาแน่นมาก

           ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์

           ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) ของขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

อาหารและการเลี้ยงดู

           ตอนกลางวันควรให้แมวอยู่อย่างอิสระในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ ตอนกลางคืนควรขังรวมกันไว้ในกรง กรงแมวต้องมีขนาดใหญ่ การเลี้ยงแมวในบ้าน แมวจะชอบขับถ่ายในที่ๆมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นจุดอับ หากต้องการให้แมวขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ควรเตรียมกระบะทรายหรือขี้เถ้าไว้ในบ้านด้วย สำหรับแมวตัวผู้ที่โตแล้ว จะขับถ่ายไม่เลือกที่ “วิถีแมวไทย” ในคอลัมน์นี้ท่านผู้อ่านจะได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของแมวไทยในบ้านเรา ข้ามไปถึงความนิยม ความคาดหวังต่อแมวไทยจากมุมมอง ของชาวต่างชาติ ตลอดจนบันทึกประสบการณ์ของผู้เขียน ในระหว่างการก้าวเดินบนเส้นทางอันยาวไกลร่วมกับแมวไทย สายพันธุ์ “โคราช” ที่ผู้เขียนได้ลงมือพัฒนาสายพันธุ์ด้วย ตัวเอง และพยายามผลักดันให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านร่วมออกเดินไปด้วยกันได้ในคอลัมน์ “วิถีแมวไทย” เริ่มตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไปครับ
แมวไทยโด่งดังและมีชื่อเสียงทั่วโลก แต่จะมีบรรดาผู้ที่รักแมวสักกี่คนที่รู้ถึงความเป็นมา ว่าจุดเริ่มต้นแห่งชื่อเสียงของแมวไทยนั้นมาจากไหน เริ่มจากอะไร คอลัมน์วิถีแมวไทย ฉบับนี้ขอเริ่มต้นด้วยการพาผู้อ่านทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามา ร่วมย้อนกลับไปเรียนรู้อดีตไปกับเรา เพื่อไปสู่ปฐมบท แห่งจุดเริ่มต้นของแมวไทยอีกครั้งครับ

ประวัติแมวไทย

มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงแมวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นั่นก็คือ “มัมมี่แมว” ของประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี แต่ไม่มีชาติใดๆ ที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เลย นอกจากประเทศไทยนั่นก็คือ “ตำราสมุดข่อย ทิ้ง 23 เล่ม” เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับแมวไทย ทุกสายพันธุ์ ซึ่งมีอายุมากถึง 700 ปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนกระทั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ไทยรบกับพม่าแล้วเสียกรุงทั้งสองครั้ง
เมื่อไทยเสียกรุงให้แก่พม่า ทางพม่าก็ได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยศึก รวมทั่งปล้นสะดมทรัพย์สินของมีค่า สัตว์พาหนะ ช้าง ม้า วัว ควาย ซึ่งรวมถึง แมว ก็ถูกกวาดต้อนกลับเมืองพม่ารามัญด้วย ในสมัยก่อนการเดินทาง ค่อนข้างยากลำบาก เสบียงค่อนข้างขาดแคลน กองทัพต้องเดินด้วยท้อง สัตว์พาหนะที่นำติดตัวมาด้วยก็ถูกใช้เพื่อเป็นเสบียงในระหว่างทาง รวมถึงแมวไทยสายพันธุ์โบราณที่เดินทางร่วมกับขบวนนั้นด้วย อีกส่วนก็หลบหนี หายระหว่างการเดินทาง เป็นเหตุทำให้แมวไทยโบราณทั่ง 17 ชนิด หายสาบสูญไป
ครั้นพอมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการกลับมาเลี้ยงแมวในวังอีกครั้งหนึ่ง และแมวที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์ก็คือ “แมวขาวมณี” ส่วน “แมววิเชียรมาส” ก็เป็นแมวหลวงสำหรับเฝ้าวัง และขุนนางชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์เลี้ยงกันได้
เรื่องการค้นพบสมุดข่อยนั้น สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) ท่านเป็นผู้ค้นพบ และท่านได้พบเห็นแมวในบริเวณนั้นมีลักษณะที่ดีต้องตามตำรา จึงสั่งให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาช่วยกันล้อมจับไว้ แล้วนำไปเลี้ยงไว้ที่วัดอนงคารามวรวิหารซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็นำแมวที่นี่ไปมอบให้แก่กงศุลจากประเทศต่างๆ
ส่วนที่มาของแมวทั่วๆ ไปที่สีสันไม่ต้องตามตำราก็คือ เมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง บ้านเมืองฟื้นฟู แมวที่ต้องตามตำราสมุดข่อยโบราณนั้นมีค่าแสนตำลึงทองชาวบ้านจึงจับแมวป่า บ้างก็นำแมวที่ติดมากับเรือสำเภาจีน ซึ่งพ่อค้าชาวจีนนำมาใช้งานจับหนูบนเรือระหว่างการเดินทางนำไปขายในวัง เห็นไม่ต้องตามตำราก็ไล่กลับไป เมื่อนั้นแมวที่นำมาไม่มีค่าอะไร บรรดาชาวบ้านก็ปล่อยทิ้งให้สืบลูกสืบหลาน จนมาถึงปัจจุบัน
การ พัฒนาแมวไทย จะต้องเริ่มจากการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้ดีขึ้น เลือกเฟ้นอาหารคุณภาพเกรดดี มีการทำวัคซีน สร้างมาตรฐานการส่งมอบ แมวสู่ลูกค้า การให้คำแนะนำอย่างจริงใจ ให้ความสำคัญกับการบันทึก ประวัติแมวเพื่อพัฒนาสู่เพ็ดดิกรีในระดับสากล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นมาตรการพื้นฐานที่ทุกฟาร์มควรทำ เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าชาวต่างประเทศยอมรับ
เมื่อเราทำได้อย่างนี้ก็ เท่ากับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแมวของเรา ทำให้แมวของเราเป็นที่ต้องการมากขึ้น ส่งผลทำให้เราได้ราคาที่ดีมากขึ้น และเมื่อวันหนึ่งที่ชาวโลกต้องการแมวของเรามากขึ้น เมื่อนั้นคนไทยก็จะเข้าใจในคุณค่าของแมวไทยของดีแบบไทยๆ ที่เรามีมากขึ้น เชื่อเถอะครับว่า บรีดเดอร์และผู้ที่นิยมแมวไทยในต่างประเทศนั้นอยากได้แมวไทย จากมือคนไทย ถ้าแมวของเรามีมาตรฐานที่ดีพอ
ฉบับนี้ผมอาจจะกล่าวถึงเรื่องราว เกี่ยวกับแมวน้อยไปนิดนะครับ อย่างไรฉบับหน้าเราจะล้วงลึกถึงประเด็นที่ว่าทำอย่างไรแมวไทยจึงจะได้รับการ ยอมรับในระดับสากล ทำอย่างไรให้แมวไทยไปถึง CFA ได้ และที่ผมอยากฝากไว้สุดท้ายในฉบับนี้ คือ แมวไทยคือสิ่งสวยงามของชาติไทย ที่ชาติอื่นไม่มี เราควรจะรักษาไว้อย่าปล่อยให้หายไป สิ่งนี้คือรากเหง้าของเรา เปรียบดั่งต้นไม้แห่งชีวิต ที่สร้างรากฐานมายาวนาน ดูแลมันไว้เถิดอย่าให้มันหายไปเลย สวัสดีครับ

Categories:

Leave a Reply